ระดมสมองปฏิรูปการจัดเก็บฐานข้อมูลคนพิการ จัดระดับความช่วยเหลือ
จากการเก็บข้อมูลตามสภาพความพิการ เป็นเก็บข้อมูลตามสมรรถนะ และความสามารถของคนพิการในรูปแบบ ICF ชี้ข้อมูลจะเป็นประโยชน์และตรงตามความต้องการของคนพิการมากที่สุด
สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสารคาม จัดประชุมเพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการโดยใช้รหัส ICF โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พญ.ศิรินาถ ดงศิริ นักวิจัยโครงการสำรวจความพิการในจังหวัดนครพนม รหัส ICF กล่าวว่า การเก็บข้อมูลคนพิการโดยใช้รหัส ICF คือการเก็บข้อมูลคนพิการทั้งในส่วนของลักษณะความพิการ และสมรรถนะของคนพิการ ซึ่งการเก็บข้อมูลโดยใช้รหัส ICF นั้น จะทำให้หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการสามารถกำหนดเป้าหมายหรือชี้เป้าของความพิการได้ถูกต้อง ว่าคนพิการที่เราลงเก็บข้อมูลนั้นต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพอะไรบ้าง
ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้นั้นจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนฟื้นฟูสมรรถภาพที่ตรงกับความพิการของคนพิการมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นหากมีคนพิการขาดขาด 1 ข้างจำนวน10 คนในพื้นที่ ตามการบันทึกและจัดทำฐานข้อมูลของคนพิการในรูปแบบปรกติ จะบันทึกข้อมูลว่าคนพิการเหล่านี้นั้นนั้นเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว 10 คน เมื่อจัดของบประมาณก็จะจัดของบประมาณสำหรับขาเทียม 10 ข้าง แต่หากจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบรหัส ICF จะบันทึกข้อมูลหลังจากที่คนพิการได้ขาเทียมไปแล้วว่าสมรรถนะของคนพิการหลังจากได้ขาเทียมไปแล้วดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งข้อมูลของรหัส ICF นั้นจะช่วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการวางแผนและประเมินผลการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องตรงกับความเป็นจริงด้วย
นักวิจัยโครงการสำรวจความพิการในจังหวัดนครพนมโดยใช้รหัส ICF กล่าวว่า การเก็บข้อมูลคนพิการโดยใช้รหัส ICF จะแบ่งความรุนแรงของความพิการในการเก็บข้อมูลออกเป็น 5 ระดับคือ 0 หมายถึงไม่มีความผิดปรกติหรือมีความพิการเลย ระดับ 1 คือมีความผิดปรกติหรือมีความพิการน้อย ระดับ 2 คือมีความผิดปรกติหรือมีความพิการปานกลาง ระดับ 3 มีความผิดปรกติหรือมีความพิการมาก ระดับ 4 คือมีความพิการมากที่สุด โดยการลงเก็บข้อมูลรหัส ICF ก็จะจัดแบ่งเป็นโค้ดตามสมรรถนะของการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่น การมองเห็นถูกจัดแบ่งเป็นโค้ด b210 การได้ยินจะเป็นโค้ด d310 การสื่อสารแบ่งเป็นโค้ด d315 และโค้ดอื่นๆ อีกตามการดำรงชีวิตของคนพิการในแต่ละวัน
ที่ประชุมได้มีการนำเสนอสถิติการสำรวจความพิการในจังหวัดนครพนมโดยใช้รหัส ICF ในเบื้องต้น 1,007 คน จำแนกตามประเภทของผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายพบว่ามีคนพิการจำนวน 45 คนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในขั้นรุนแรงระดับ 4 และมีคนพิการจำนวน 61 คน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับ 4 ทั้งนี้มีคนพิการที่มีความบกพร่องทางการพูด 76 คน บกพร่องทางการสื่อสาร 38 คน บกพร่องทางการเดิน 89 คน และบกพร่องทางการจำ 143 คน ที่รุนแรงมากสุดในระดับ 4 ส่วนการจำแนกตามความสามารถด้านการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่ามีคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จากการปัสสาวะ 44 คน อุจจาระ 43 คน รับประทานอาหาร 37 คน แต่งตัว 50 คน เคลื่อนที่ในบ้าน 36 คน ขึ้นลงบันได 59 คน เคลื่อนที่นอกบ้าน 67 คน ซึ่งทั้งหมดถูกจัดให้อยู่ในระดับ 4 ซึ่งเป็นคนพิการที่ความความพิการมากที่สุดที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาดูแลและช่วยเหลือให้ตรงจุด
ด้านพญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.)กล่าวว่า การประชุมที่เราจัดทำขึ้นในครั้งนี้นั้นก็เพื่อนำเสนอโมเดล หรือต้นแบบในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับคนพิการให้มีประสิทธิภาพและช่วยเหลือคนพิการได้ตรงจุดมากขึ้น เพราที่ผ่านมาการเก็บข้อมูลของคนพิการจะเป็นการเก็บข้อมูลเฉพาะความพิการ แต่การเก็บข้อมูลในรูปแบบ ICF นี้จะเป็นการจัดทำฐานข้อมูลคนพิการในรูปแบบใหม่ที่จะเก็บข้อมูลเรื่องสมรรถนะและความสามารถของคนพิการร่วมกับการเก็บข้อมูลตามลักษณะของความพิการ การเก็บข้อมูล ICF นี้ยังรวมไปถึงการเก็บข้อมูลในเรื่องความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และข้อมูลสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการด้วย ซึ่งหากมีการปรับระบบฐานข้อมูลของคนพิการเป็นรูปแบบ ICF ทั้งหมดหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำข้อมูลนี้ไปประสานกับหน่วยงานหลักในการฟื้นฟูคนพิการ จะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของคนพิการได้
ฝ่ายสื่อสารสาธารณะสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ
สิงหาคม 2554
ที่มา www.healthyability.com
Relate topics
- "Platform GreenSmile""Platform GreenSmile
- เครือข่าย SGS - PGS สงขลา ลงตรวจแปลงรอบที่สาม วันแรกเพื่อสุขภาพของประชาช
- พัฒนาศักยภาพทีมเยี่ยมบ้านเครือข่าย พชอ.หาดใหญ่"พัฒนาศักยภาพทีมเยี่
- เครือข่ายพลเมืองอาสากระบี่ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพื้นที่อำเภออ่าวลึก เพราะเราจะไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง"เครือข่ายพลเมืองอาส
- ตลาดโรงพยาบาลหาดใหญ่กรีนสมาย เปิดวันศุกร์ ที่ 13 ธ.ค. 62ตลาดโรงพยาบาลหาดใหญ่
- งานกีฬาสานสัมพันธ์สายใยรักคนพิการจังหวัดตรัง ครั้งที่ 2ขอเชิญชวนคนพิการทุกท
- ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตรายบุคคลนัดแกนนำพมจ. สสจ. อบ
- ก้าวข้ามข้อจำกัดในการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง๕-๗ สค.นี้ กขป.เขต๑๑
- ๒ กย. ดีเดย์นัดส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่ครัว รพ.หาดใหญ่วันนี้เครือข่ายเกษตร
- บูรณาการข้อมูลรายบุคคลระดับอำเภอยกระดับอีกก้าวสำหรับ
- การประสานการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญชัดเจนมากขึ้นทุกวัน.
- รูปแบบการดูแลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมจากสภาพปัญหาการทำงาน
- ระบบเยี่ยมบ้านงานข้อมูลควรทำเป็นกร
- ศูนย์สร้างสุขชุมชน อบต.ทับช้างทับช้างเป็นตำบลเล็กๆ
- ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ
- เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่"เครือข่ายท้องถิ่นสง
- iMed@home เครื่องมือเสริมพลังนโยบายสาธารณะยุคดิจิทัล"iMed@home" ยุคดิจิต
- งานวันพลเมืองสงขลา งานวันพลเม
- เปิดตัว Hatyai Go Green ที่ Green Zone@Green Wayหลายปีก่อนมูลนิธิชุม
- เปิดตัวแอพ iMed@Home สำหรับเครือข่ายเยี่ยมบ้านคนพิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยเรื้อรังข่าวดีสำหรับเครือข่า
- เทศบาลตำบลย่านตาขาวกองสาธารณสุขเทศบาลตำ
- คืนความสุขคนพิการกองสาธารณสุขเทศบาลตำ
- บันทึกฐานข้อมูลคนพิการเข้าบันทึกข้อมูลไม่ไ
- สมาชิกใหม่รายงานตัวครับผมยินดีที่ได้ร่วมงานคร
- คืนความสุขให้คนพิการ จัดโดยสำนักงาน พมจ.ตรังนายสายัณห์ อินทรภักด
- พัฒนาศักยภาพกลไกสุขภาวะจังหวัดปัตตานีจัดงาน พัฒนาศักยภาพ
- เวทีเตรียมงานเก็บข้อมูลคนพิการนาโยงใต้ ตรังกิจกรรมวันนี้ที่ นาโ
- โครงการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้านโครงการบริการสุขภาพผ
- ร่วมด้วยช่วยกัน "พัฒนางานคนพิการในเขตเมืองหาดใหญ่"งานร่วมพัฒนาระบบสุขภ
- งานดูแลคนพิการในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ในปี 58ขยับงานดูแลคนพิการใน
- เวที "วัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเพื่อการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย"สสส. ได้ชวนคนทำงานข้
- มติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง คุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดตรัง โดยภาคีเ
- เวทีแลกเปลี่ยนและร่วมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานประเด็นคนพิการ(ตรัง-สงขลา)สมัชชาสุขภาพจังหวัดต
- ใช้ Video Chat ช่วยคนตาบอดได้ทั่วโลกด้วย Be My Eyes applicationWritten by Unlockme
- เวทีรับฟังความคิดเห็น(ร่าง)มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ึ7วันที่ 27 พฤศจิกายน
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ จังหวัดปัตตานีวันที่ 21 พฤษจิกายน
- ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ/บันทึกความร่วมมือวันที่ 20 พฤษจิกายน
- จัดอบรมทักษะผู้นำเยาวชนกับการนำเครื่องมือพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเครือข่ายประชาคมงดเห
- ประชุมเพื่อขับเคลื่อนกลไก สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 10 ตุลาค