Topic List

82 items(1/9) 2 3 4 5 Next » Last »|
โดย กมลทิพย์ อินทะโณ on 12 ก.ค. 64 12:44

"Platform GreenSmile"

เข้าสู่โลกดิจิตอลเต็มตัว อาศัยโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่และต้นทุนเครือข่าย ความรู้จากประสบการณ์ตรง ดำเนินการในนามมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาแอพฯใหม่อีกตัว ชื่อ iGreenSmile อยู่ในPlatform GreenSmile ที่จะยกระดับองค์กรไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม

กว่าสิบปีที่ส่งเสริมแนวคิดเกษตรสุขภาพ ทำให้เห็นช่องว่างการผลิตในภูมิภาคที่ผลผลิตทางการเกษตรมีการปนเปื้อนสารพิษ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เป็นลูกจ้าง รวมกลุ่มยาก ไม่สามารถสนองตอบเชิงพาณิชย์ สวนยาง สวนปาล์ม นากุ้ง ทำให้ละเลยมิติการผลิตในด้านอาหารอื่นๆ

หลายปีมานี้จึงเริ่มสะสมประสบการณ์ ด้านหนึ่งส่งเสริมการทำสวนผักคนเมือง เพื่อให้เข้าใจตลาด เข้าใจเกษตรกร และความรู้การผลิต พร้อมกับประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแยกส่วน กระจัดกระจาย ไม่ต่อเนื่องและครบวงจร และพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลางขึ้นมาทีละน้อย

มาปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวตกรรมแห่งชาติ(สนช.) เข้าร่วมโครงการ Deepsouth Innovation Business Coaching Program จึงได้โอกาสพัฒนา Platform เต็มรูปแบบ แนวคิดที่ใช้ในโครงการที่จะขอรับทุน ประกอบด้วยแนวคิดหลักๆ

1.การจัดการฐานข้อมูลกลาง ประกอบด้วย 1) www.communeinfo.com ให้มีระบบฐานข้อมูลกลางของเกษตรกรรายบุคคลและกลุ่มของพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และภาค ให้ภาคส่วนรัฐ ท้องถิ่น เอกชน วิชาการ เครือข่ายเกษตรกรเข้ามาใช้ในการทำงานส่งเสริมการผลิตและการตลาดเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกัน โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดที่จะมีการจัดตั้งร่วมกันในการบริหารจัดการ และเข้าใช้งานplatform ผ่านระบบสมาชิกและอนุมัติสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลกลางตามอำนาจหน้าที่ของ user 2)Application Green Smile ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ สวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ ปศุสัตว์ เน้นมาตรฐาน PGS และเป็นส่วนหนึ่งของการรับรองมาตรฐาน SGS-PGS บันทึกข้อมูลพื้นฐานของกลุ่ม ภาพการผลิต กิจกรรมของกลุ่ม พิกัด พร้อมQrcode เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสอบย้อนผลผลิตถึงแปลง รองรับกลุ่มเกษตรอินทรีย์หรือรายย่อยผ่านระบบตลาดเคลื่อนที่ ส่งตรง ตลาดกรีน
ทั้งสองระบบย่อยนี้จะเป็นบริการทางสังคม ไม่เก็บค่าบริการ แต่ผ่านระบบสมาชิกเพื่อคัดกรองผู้ใช้งาน และมีหน่วยงานสนับสนุนได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562

ระบบข้อมูลกลางนี้จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร และมีระบบ admin ของกลุ่มในการทำงานร่วมกับ platform ระบบข้อมูลกลางจะเป็นพื้นฐานทำให้กลุ่มเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มวางแผนการผลิต การขอมาตรฐานการผลิต(GAP, PGS ฯลฯ) การตลาด การขอสินเชื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปสู่การจัดทำแผนงานหรือนโยบายระดับจังหวัดในการสนับสนุน

2.การจัดการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยและการซื้อขายวัตถุดิบในตลาดล่วงหน้า จะมีระบบย่อยของ Application iGreenSmile ที่จะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต่อยอดการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นแนวทางที่จะขอการสนับสนุนจาก สนช.ประกอบด้วย

การสั่งจองสินค้าล่วงหน้า โดยให้ลูกค้า(โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ)ส่งข้อมูลความต้องการวัตถุดิบ ผัก ผลไม้ ข้าว แยกประเภท จำนวนที่ต้องการ พร้อมราคา ล่วงหน้า(3 เดือน) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านขั้นตอนการรวมกลุ่มและได้รับมาตรฐานการผลิตและมีคนกลาง(เกษตรกรรวมตัวในนามวิสาหกิจ/บริษัท/สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ)ที่จะทำสัญญากับรพ.ได้สามารถตัดสินใจสั่งจอง order นำไปวางแผนการผลิตของกลุ่มให้ สามารถส่งวัตถุดิบกับลูกค้าตามศักยภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลความต้องการไปประกอบการวางแผนการส่งเสริมการผลิต ลูกค้าก็สามารถเพิ่มช่องทางสื่อสารไปยังกลุ่มเกษตรกร เพิ่มโอกาสในการผลิตและจัดส่งวัตถุดิบให้ครอบคลุมปริมาณความต้องการ และสามารถบริหารปริมาณความต้องการร่วมกับเครือข่ายในแต่ละพื้นที่

กรณีการสั่งจองจะมีเงื่อนไขกำกับ กรณีที่ไม่สามารถส่งผลผลิตได้ตามคำสั่งจอง จะมีมาตรการควบคุม

3.การวางแผนการผลิต ประกอบด้วยระบบย่อย

3.1 วางแผนการผลิต กลุ่มสามารถนำ order ดังกล่าวไปวางแผนการผลิตของกลุ่มดำเนินการผ่าน Platform มีแผนการผลิตแยกประเภทผลผลิต ตามจำนวนสมาชิก ปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิต พร้อมกันนั้นทีมกลางจะนำข้อมูลการผลิตไปต่อรองกับร้านค้าเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต บรรจุภัณฑ์ลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร สร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการ

3.2 การแก้ปัญหาการผลิต มีระบบสื่อสารทั้งภาพ คลิป ข้อความสนทนา กลุ่มเกษตรกรสามารถสะท้อนปัญหา การผลิตที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาให้ข้อเสนอแนะ ร่วมแก้ปัญหา เก็บบันทึกเป็นความรู้ส่งต่อให้กับสมาชิกและเพื่อนเกษตรกร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกระบวนการผลิต การลดต้นทุนการผลิต การแก้ปัญหาการผลิต การยกระดับราคาผลผลิต

4.การรับส่งผลผลิต ปลายทางของกระบวนการ ประกอบด้วย

4.1 การส่งผลผลิต ณ โรงคัดแยก platform จะอำนวยความสะดวกในการบันทึกผลผลิตของสมาชิกในกลุ่มที่มาจัดส่ง ณ โรงคัดแยก พร้อมระบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ณ โรงคัดแยก

4.2 จัดส่งผลผลิตไปสู่โรงครัว บันทึกปริมาณผลผลิต ราคาผลผลิตต่อครั้งที่จัดส่ง ออกรายงานรายครั้ง รายเดือน รายปี เพื่อให้เห็นปริมาณสินค้าที่สามารถดำเนินการได้ กลุ่มธุรกิจนี้จะมีค่าบริการ โดยจะมีระบบการทำงานร่วมกัน 2 แบบคือ ทีมมูลนิธิฯพร้อมลงทุนร่วม ระดมทุนร่วม และคิดจากการเป็นแฟรนด์ไชส์ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม/เกษตรกรในแต่ละจังหวัด ในราคาที่สามารถเอื้อกันได้เพื่อให้ระบบสามารถอยู่ได้

โดย กมลทิพย์ อินทะโณ on 19 ก.ย. 63 19:51

เพื่อสุขภาพของประชาชน

วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๓

ทีมตรวจแปลงของเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา ลงตรวจแปลงรอบที่3วันแรก จำนวน 8 แปลงเพื่อให้การรับรองมาตรฐานSGS-PGS
มีตัวแทนเครือข่ายเกษตรฯ บ.ประชารัฐฯ มูลนิธิชุมชนสงขลา รพ.หาดใหญ่ ร่วมลงตรวจแปลง

โดย กมลทิพย์ อินทะโณ on 29 พ.ย. 62 20:56

"พัฒนาศักยภาพทีมเยี่ยมบ้าน"

พชอ.หาดใหญ่ โดยสสอ.หาดใหญ่ประสานทีมเยี่ยมบ้านในแต่ละรพ.สต.ของอำเภอหาดใหญ่ มาร่วมอบรมการใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home เพื่อใช้ในการเยี่ยมบ้านกลุ่มเปราะบางทางสังคม นำข้อมูลที่ได้มาสู่ระบบข้อมูลกลาง เสริมหนุนการทำงานในภาพรวม

เริ่มตั้งแต่การสมัครสมาชิก ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ เครื่องมือที่ออกแบบและวิธีการใช้ เน้นการบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านรายบุคคล ถ่ายภาพ สำรวจความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ การทำดัชนีมวลกาย ฯลฯ รวมไปถึงระบบกลุ่มในการทำงาน โดยมีสสอ.ทำหน้าที่เป็น Admin

มีบางคนใช้มือถือบางรุ่นที่ไม่สามารถใช้งานได้ เป็นปัญหาที่ยังไม่รู้คำตอบ แต่โดยรวมแล้วเป็นไปด้วยดี ทุกคนพอใจกับความสดวกในการใช้งาน แต่ก็ต้องการเวลาในการเพิ่มทักษะ โปรแกรมเมอร์เองกำลังปรับวิธีการเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อนของสายสาธารณสุข โดยศึุกษารูปแบบของ saver ในฝั่งสาธารณสุข เพื่อออกแบบการส่งต่อข้อมูลจาก iMed@home ไปให้ไอทีของทางสาธารณสุขโดยตรง หากทำได้ ฝั่งสาธารณสุขจะได้ไม่ต้องทำงานบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน

ข้อดีการที่โปรแกรมเมอร์อยู่ในระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนที่พบได้ง่าย ระบบข้อมูลที่มาจากชุมชนและพื้นที่จะเป็นข้อมูลที่มีชีวิต และปรับเป็นปัจจุบันโดยคนทำงานด้วยกัน เช่นนั้นแล้ว ระบบข้อมูลจึงไม่ใช่ทางเทคนิค จ้างไอทีเก่งๆมาทำแล้วจบ หากแต่เป็นกระบวนการทางสังคมที่ดึงทุกฝ่ายมาทำงานร่วมกัน

โดย กมลทิพย์ อินทะโณ on 14 พ.ย. 62 19:03

"เครือข่ายพลเมืองอาสากระบี่ ลงพื้นที่เยี้ยมบ้านผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือผู้ยากลำบาก ในพื้นที่อำเภออ่าวลึก ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง"

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกระบี่ (ศปจ.) ร่วมกับแกนนำพลเมืองอาสาอำเภออ่าวลึก และทีมสื่อมวลชนพลเมืองอาสาจังหวัดกระบี่ ได้ลงพื้นที่เยี้ยมบ้านผู้ด้อยโอกาส เพื่อมอบทุนสนับสนุนในการช่วยเหลือผู้ยากลำบาก จำนวน 6 ราย ที่มีการสำรวจข้อมูลโดยพลเมืองอาสาอำเภออ่าวลึก มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลชุมชน imed@home และได้ผ่านการคัดเลือก พิจารณาเพื่อช่วยเหลือโดยแกนนำพลเมืองอาสาอำเภออ่าวลึก ได้แก่ ผู้ยากลำบากในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง 1 ราย ตำบลอ่าวลึกใต้ 2 ราย ตำบลแหลมสัก 1 ราย ตำบลนาเหนือ 1 ราย และตำบลเขาใหญ่ 1 ราย

ในนามของศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกระบี่ ขอขอบคุณพี่น้องเครื่อข่ายพลเมืองอาสาอำเภออ่าวลึก และทีมสื่อมวลชนพลเมืองอาสาจังหวัดกระบี่ ที่ร่วมกันลงพื้นที่ และให้การสนับสนุนในการช่วยเหลือผู้ยากลำบาก ในครั้งนี้

สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ยากลำบากโดย กองทุนพลเมืองอาสาเพื่อสังคมสุขภาวะจังหวัดกระบี่ สำนักงานโครงการจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมสุขภาวะ เครือข่ายพลเมืองอาสาอำเภออ่าวลึก ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกระบี่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

โดย Little Bear on 7 พ.ย. 62 10:07

ตลาดโรงพยาบาลหาดใหญ่กรีน​สมาย เปิดวันศุกร์ ที่ 13 ธ.ค. 62 โดย

  1. ปลอดสารเคมี​ ยาฆ่าแมลง​อย่างเด็ดขาด​ เพราะงั้นรับเฉพาะ​ PGS​ กับ​ Oganic
  2. ลดขยะ​ no​ foam , no​ plastic bag,  no​ singer  use
  3. มี QR code  สอบทวนกลับถึงแหล่งผลิตได้
  4. มีแต่เต้นท์​ ไม่มีโต๊ะและเก้าอี้บริการ
  5. เก็บค่าบริการเต้นท์ละ​100บาท​ สำหรับคนงานที่มาช่วยกางเต้นท์และทำความสะอาด
  6. มีการสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อนทุกสัปดาห์​ ถ้าพบ​ จะตัดสิทธิ์​เกษตรกรรายนั้นทันที
  7. ตลาดเปิดทุกวันศุกร์​ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)​ เวลา​ 10.00 - 15.00 น.
  8. ผู้ขายควรสวมเอี้ยมใส่หมวก
  9. วิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่ม​ สามารถรับของเกษตรกรรายอื่นที่ผ่าน​ PGS​ มาจำหน่ายได้ แต่ต้องติด sticker หรือมี QR Codeด้วย
  10. ในวันเปิด​ มีการแจกของที่ระลึกสำหรับ100ท่านแรกที่มาลงทะเบียนกับ​ App​ Green​ Smile

ผู้บริโภคโหลด App แล้วสามารถติดต่อสั่งซื้อผลผลิตหรือจองผลผลิตโดยตรงกับเกษตรกร และตรวจสอบมาตรฐาน/กระบวนการผลิตของเกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาด

ติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊ค ตลาดหาดใหญ่กรีนสมาย

โดย พัชรา ไทรงาม on 15 ส.ค. 62 22:23

ขอเชิญชวนคนพิการทุกท่านหรือผู้สนใจเข้าร่วม กิจกรรม งานกีฬาสานสัมพันธ์สายใยรักคนพิการจังหวัดตรัง ครั้งที่ 2
ในวันที่ 26 ส.ค.2562 ณ สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง โรงยิม 2 โดยได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง จากผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธานในพิธีเปิดครั้งนี้ ผู้ใดประสงค์เข้าร่วมงานสามารถแจ้งความประสงค์มายังผู้ประสานงานสภาฯ 093-7104945 (เพียงอัมพร)

โดย Little Bear on 9 ส.ค. 62 10:50

นัดแกนนำพมจ. สสจ. อบจ. ดูตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตร่วมกันเพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานกับคนพิการ ผู้สูงอายุ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา(และที่อื่นๆในอนาคต) นำกรอบตัวชี้วัดของพม.ที่ถือว่าเป็นแม่บท มีทั้งสิ้น ๑๒ มิติ ซึ่งดูครอบคลุมทั้งในส่วนที่เป็นภาพรวมของระบบการดูแล

คณะทำงานเห็นชอบที่จะนำมาปรับใช้กับการวัดคุณภาพชีวิตรายบุคคล ที่ยังไม่มีการวัดโดยตรง มีข้อสรุปเป็นร่างตัวชี้วัดสำคัญ ๘ ด้านดังนี้

๑.ด้านที่อยู่อาศัย พิจารณาในตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ความคงทนถาวรแข็งแรงปลอดภัย ความมั่นคงในการถือครองที่อยู่อาศัย (บ้านเช่า อาศัยเขาอยู่ บุกรุก ฯลฯ) ความสะอาด ถูกสุขลักษณะ

๒.ด้านสุขภาพ พิจารณาตัวชี้วัด กรณีล้มป่วยดูการเข้าถึงบริการ บัตร ท.๗๔ ที่ครอบคลุมการรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู และความแข็งแรง ไม่มีโรค

๓.ด้านของอุปโภค บริโภค พิจารณาตัวชี้วัดพื้นฐาน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เพียงพอหรือไม่

๔.ด้านการมีงานทำและรายได้ พิจารณาตัวชี้วัดพื้นฐาน รายได้เฉลี่ยเพียงพอหรือไม่

๕.ด้านครอบครัว พิจารณาตัวชี้วัดพื้นฐาน ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน หรือไม่

๖.ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม พิจารณาตัวชี้วัดพื้นฐาน ได้แก่ การมีอาสาสมัครดูแล การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ การเมือง การเข้าร่วมชมรม

๗.ด้านสิทธิความเป็นธรรม พิจารณาตัวชี้วัดพื้นฐาน ได้แก่ การเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน (สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก การกู้ยืม ฯลฯ)

๘.ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พิจาณาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ลักทรัพย์ ถูกทำร้าย ถูกหลอก ภัยธรรมชาติ ฯลฯ)

หลังจากนี้จะประชุมคณะทำงานข้อมูลกองทุนฟื้นฟูฯ ระดมความเห็นอีกรอบ กำหนดวิธีวัด ปรับเข้าสู่ระบบแอพพลิเคชั่น iMed@home นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

โดยใช้ควบคู่กับหมวดความต้องการในระบบเยี่ยมบ้าน

โดย Little Bear on 9 ส.ค. 62 09:42

๕-๗ สค.นี้ กขป.เขต๑๑ และเขต ๑๒ ร่วมขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง ณ งานสร้างสุขภาคใต้ ณ โรงแรมนิภาการ์เดนนอกจากเปิดเวทีเรียนรู้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มพฤติพลังและการดูแลกลุ่มเปราะบางที่มีพื้นที่ต้นแบบมาร่วมนำเสนอ มีความรู้สำคัญๆ อาทิ การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ โปรแกรมคัดกรองสมองเสื่อม SALE model (คัดกรองภาวะสุขภาพ มีชมรมหรือการรวมกลุ่ม การดูแลระยะยาวในชุมชน การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต) รูปแบบการปรับระบบบริการเชิงรุกของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพอบจ.สงขลา ชุมชนเปราะบางดูแลกลุ่มเปราะบาง และระบบข้อมูลกลางผ่าน App:iMed@home

กระบวนการเหล่านี้มาพร้อมการเปิดพื้นที่ทางความคิด พยายามก้าวข้ามสุขภาวะมาสู่คุณภาพชีวิต มีการเชื่อมโยงเครือข่ายหลากหลาย ข้ามพื้นที่ ข้ามเพศ ข้ามศาสนา ดูแลทั้งกลุ่มที่เข้าถึงสิทธิ์และเข้าไม่ถึงสิทธิ์

มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือนำบทเรียนที่ได้มาขยายผลไปในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ระหว่างตัวแทนคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๑ และเขต ๑๒ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ นครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ชุมพร องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลเขาดิน กระบี่ องค์การบริหารส่วนตำบล อ่าวลึกใต้ กระบี่ องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสม พังงา ผู้สูงอายุอำเภอคีรีรัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลพรุพี สุราษฎร์ธานี เทศบาลตำบลรือเสาะ นราธิวาส เทศบาลส่วนตำบลควนขนุน พัทลุง เทศบาลส่วนตำบลวังพญา ยะลา องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลทับช้าง สงขลา เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง สงขลา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะตอ นราธิวาส องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ ปัตตานี องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ตรัง

โดยมีเจตนารมณ์ความร่วมมือกันดังต่อไปนี้

๑.ร่วมกันดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุกลุ่มพฤติพลังและกลุ่มเปราะบางทางสังคม สามารถพึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือกันเองได้ รวมถึงเข้าถึงสิทธิและปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยใช้ทรัพยากร ทั้งบุคลากร งบประมาณ ตามอำนาจหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยภาพ

๒.สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือให้เกิดพื้นที่ปฎิบัติการ โดยมุ่งหวังให้มีศูนย์ประสานงาน พัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการประสานบูรณาการ จัดตั้งชมรมหรือองค์กรผู้สูงอายุ ให้มีหลักสูตรพัฒนาศักยภาพชมรมหรือองค์กรผู้สูงอายุ นำกองทุนในพื้นที่มาร่วมดำเนินการ เพื่อให้เกิดจุดเรียนรู้สำคัญในพื้นที่ภาคใต้และขยายผลต่อไป

โดย Little Bear on 9 ส.ค. 62 09:39

วันนี้เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา นัดประชุมภาคีเครือข่ายประกอบด้วยตัวแทนเกษตรกร รพ.หาดใหญ่ สสจ. มูลนิธิชุมชนสงขลา/๔pW/กขป.เขต ๑๒ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพเป็นเจ้าภาพ หารือแนวทางจัดส่งผลผลิตเข้าสู่การจัดทำเมนูสุขภาพ รพ.หาดใหญ่ แต่ละกลุ่มคัดกรองตัวเองว่าจะร่วมกิจกรรมกับกลุ่มใด มีข้อสรุปดังนี้

๑.ในกลุ่มที่พร้อมจัดส่งผลผลิต จะมี ๒ มาตรฐานประกอบด้วย GAP ในส่วนผักกินหัว จะเริ่มดำเนินการโดยมีกลุ่มวิสาหกิจระโนดกล้วยหอมทอง เป็นผู้แทนรวบรวมผลผลิตและทำสัญญา โดยจะเริ่มนำร่อง ฟักทอง ฟักเขียว กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง จัดส่งให้รพ.ทุกวันจันทร์ พุทธ เสาร์ โดยมีรถรับส่งจากระโนดมาหาดใหญ่ ในส่วนการตรวจสอบทางกลุ่มจะมีห้อง lap และทางรพ.จะมีการสุ่มตรวจ

๒.มาตรฐาน GAP โดยมีกลุ่มวิสาหกิจรักษ์ส้มจุกจะนะเป็นผู้แทนรวบรวมผลผลิตและทำสัญญา จะรับผลผลิตผักกินใบ จากจะนะมาทางหาดใหญ่และเครือข่ายที่เข้าร่วม

ทั้งสองกลุ่มจ่ายเงินสดให้เกษตรกร ส่วนรพ.จะรับผลผลิตและจัดซื้อพร้อมจ่ายเงินหลังจากนั้นอีก ๑๕ วัน

๓.มาตรฐาน PGS เครือข่ายรับรองกันเอง จะมีทองหล่อพาณิชย์เข้ามาดำเนินการเป็นผู้แทนเกษตรกรแทน บ.ประชารัฐฯ ที่จะมาเป็นภาคีร่วมเรียนรู้ วันนี้เครือข่ายได้มากำหนดมาตรฐานร่วมในส่วนของคุณธรรม จริยธรรม การจัดการปัจจัยการผลิต การควบคุมปกป้องแปลง ระบบการตรวจ ประเมิน ลงโทษ โดยมีทีมลงตรวจแปลงประกอบด้วยตัวแทนเครือข่าย สสจ. เกษตร รพ. จำนวน ๖ คน ผลผลิตที่ได้ในกลุ่มนี้จะมีราคาสูงกว่าราคาตลาดหรือมาตรฐาน GAP ไม่เกิน ๓๐%

วันนี้ลงลึกถึงผลผลิตแต่ละกลุ่ม ปริมาณที่ผลิตต่อสัปดาห์/เดือน ผลผลิตที่รพ.ต้องการ ระบบการขนส่ง แนวทางการเสริมหนุนการทำงานเป็นเครือข่ายระดับจังหวัด ซึ่งนอกจากจะมีการรวบรวมส่งแล้ว ยังจะเปิดตลาดกรีนรองรับในกลุ่มที่ผลิตไม่มากหากมีผลผลิตและเครือข่ายมากพอจะขยายผลไปยังรพ.อื่นต่อไป

ทุกกลุ่มจะส่งรายการผลผลิตและราคามาให้ทางรพ.พิจารณาล่วงหน้ารายไตรมาส โดยคำนึงถึงราคากลางและฤดูกาล

มูลนิธิชุมชนสงขลาจะพัฒนาแอพฯ Green smile เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ผลิต รูปแบบการผลิตแต่ละขั้นตอนพร้อมภาพ มี Qr code เพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของผลผลิต การเชื่อมโยงเส้นทาง เวลาเพื่อสดวกในการรับส่งผลผลิต ปริมาณและราคาผลผลิตแต่ละรอบของการจัดส่ง เหล่านี้เป็นแนวทางที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นผลรูปธรรมเอื้อให้เกิดการผลิตอาหารสุขภาพในพื้นที่ต่อไป

โดย Little Bear on 1 ส.ค. 62 20:45

ยกระดับอีกก้าวสำหรับงานในพื้นที่อำเภอนาทวี ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ประกอบด้วย รพ.สมเด็จฯ สสอ. รพ.สต. อสม.เชี่ยวชาญ ทีมงานมูลนิธิชุมชนสงขลา(ภายใต้การสนับสนุนจากศปจ./สช./อบจ.) ร่วม ๕๐ คน ทำความเข้าใจและซักซ้อมการใช้ แอพพลิเคชั่น iMed@home เก็บข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู คนยากลำบากฯ เพื่อประสานข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกัน

๑.เก็บข้อมูลผ่านการเยี่ยมบ้าน บันทึกความต้องการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตในแต่ละด้านจากการลงพื้นที่ถึงบ้าน เช่น กายอุปกรณ์ การซ่อมบ้าน วัสดุสิ้นเปลือง เงินทุน บัตรประชาชน ฯลฯ โดยทีมอสม.เชี่ยวชาญ อสม. และจิตอาสารายบุคคล โดยมีรพ.สต. อปท. สสอ. รพ. จัดทีม Admin ในการประสานงาน เสริมหนุนความต้องการ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล และรายบุคคล

๒.นำเข้าข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการเยี่ยมบ้าน การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะในระดับคณะทำงานเพื่อการบูรณาการงานร่วมกัน โดยเฉพาะข้อมูลจากฝั่งสาธารณสุข รพ.อำเภอ ลดความซ้ำซ้อนที่จะต้องทำงาน ๒ ระบบคือ ระบบข้อมูลของสธ. และแอพฯ iMed@home โดยให้โปรแกรมเมอร์ทั้งสองฝ่ายหาทางออกในทางเทคนิค ส่งต่อ data จากทั้งสองฝั่งถึงกัน วันนี้ทีม it ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเพื่อหาทางออกด้วยการพัฒนาโปรแกรมที่จะส่งต่อข้อมูลให้กันและกัน ทดลองทำและลองใช้โดยเลือกข้อมูลในบางรพ.สต. ทีมจะปรับโปรแกรมให้ง่ายในการทำงาน และให้มีการลงนาม MOU ที่จะร่วมมือกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของพื้นที่อำเภอให้เป็นเอกภาพอย่างเป็นทางการต่อไป

๓.อีกไม่ช้าฐานข้อมูลพื้นฐานจากฝั่ง iMed@home จะมีข้อมูลเข้ามาจนกระทั่งใกล้เคียงและตรงกับทางสาธารณสุข บวกกับข้อมูลการทำงานระดับปฎิบัติที่มาจากหลายองค์กร(อสม. อสม.เชี่ยวชาญ จิตอาสา ฯลฯ) จะถูกบันทึกเกิดการรับรู้และมองเห็นการเชื่อมโยงกันโดยใช้ข้อมูลรายบุุคคลฐานเดียวกัน

หากแนวทางนี้สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคทำได้จริงจะนำไปขยายผลเชิงนโยบายกับอำเภออื่นๆ โดยร่วมกับอบจ.สงขลา พชอ.นาทวี กขป.เขต ๑๒ ต่อไป

82 items(1/9) 2 3 4 5 Next » Last »|