"Platform GreenSmile"

by กมลทิพย์ อินทะโณ @12 ก.ค. 64 12:44 ( IP : 124...192 ) | Tags : ข่าวสาร - Green Smile , ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 960x540 pixel , 88,700 bytes.

"Platform GreenSmile"

เข้าสู่โลกดิจิตอลเต็มตัว อาศัยโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่และต้นทุนเครือข่าย ความรู้จากประสบการณ์ตรง ดำเนินการในนามมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาแอพฯใหม่อีกตัว ชื่อ iGreenSmile อยู่ในPlatform GreenSmile ที่จะยกระดับองค์กรไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม

กว่าสิบปีที่ส่งเสริมแนวคิดเกษตรสุขภาพ ทำให้เห็นช่องว่างการผลิตในภูมิภาคที่ผลผลิตทางการเกษตรมีการปนเปื้อนสารพิษ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เป็นลูกจ้าง รวมกลุ่มยาก ไม่สามารถสนองตอบเชิงพาณิชย์ สวนยาง สวนปาล์ม นากุ้ง ทำให้ละเลยมิติการผลิตในด้านอาหารอื่นๆ

หลายปีมานี้จึงเริ่มสะสมประสบการณ์ ด้านหนึ่งส่งเสริมการทำสวนผักคนเมือง เพื่อให้เข้าใจตลาด เข้าใจเกษตรกร และความรู้การผลิต พร้อมกับประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแยกส่วน กระจัดกระจาย ไม่ต่อเนื่องและครบวงจร และพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลางขึ้นมาทีละน้อย

มาปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวตกรรมแห่งชาติ(สนช.) เข้าร่วมโครงการ Deepsouth Innovation Business Coaching Program จึงได้โอกาสพัฒนา Platform เต็มรูปแบบ แนวคิดที่ใช้ในโครงการที่จะขอรับทุน ประกอบด้วยแนวคิดหลักๆ

1.การจัดการฐานข้อมูลกลาง ประกอบด้วย 1) www.communeinfo.com ให้มีระบบฐานข้อมูลกลางของเกษตรกรรายบุคคลและกลุ่มของพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และภาค ให้ภาคส่วนรัฐ ท้องถิ่น เอกชน วิชาการ เครือข่ายเกษตรกรเข้ามาใช้ในการทำงานส่งเสริมการผลิตและการตลาดเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกัน โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดที่จะมีการจัดตั้งร่วมกันในการบริหารจัดการ และเข้าใช้งานplatform ผ่านระบบสมาชิกและอนุมัติสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลกลางตามอำนาจหน้าที่ของ user 2)Application Green Smile ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ สวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ ปศุสัตว์ เน้นมาตรฐาน PGS และเป็นส่วนหนึ่งของการรับรองมาตรฐาน SGS-PGS บันทึกข้อมูลพื้นฐานของกลุ่ม ภาพการผลิต กิจกรรมของกลุ่ม พิกัด พร้อมQrcode เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสอบย้อนผลผลิตถึงแปลง รองรับกลุ่มเกษตรอินทรีย์หรือรายย่อยผ่านระบบตลาดเคลื่อนที่ ส่งตรง ตลาดกรีน
ทั้งสองระบบย่อยนี้จะเป็นบริการทางสังคม ไม่เก็บค่าบริการ แต่ผ่านระบบสมาชิกเพื่อคัดกรองผู้ใช้งาน และมีหน่วยงานสนับสนุนได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562

ระบบข้อมูลกลางนี้จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร และมีระบบ admin ของกลุ่มในการทำงานร่วมกับ platform ระบบข้อมูลกลางจะเป็นพื้นฐานทำให้กลุ่มเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มวางแผนการผลิต การขอมาตรฐานการผลิต(GAP, PGS ฯลฯ) การตลาด การขอสินเชื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปสู่การจัดทำแผนงานหรือนโยบายระดับจังหวัดในการสนับสนุน

2.การจัดการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยและการซื้อขายวัตถุดิบในตลาดล่วงหน้า จะมีระบบย่อยของ Application iGreenSmile ที่จะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต่อยอดการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นแนวทางที่จะขอการสนับสนุนจาก สนช.ประกอบด้วย

การสั่งจองสินค้าล่วงหน้า โดยให้ลูกค้า(โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ)ส่งข้อมูลความต้องการวัตถุดิบ ผัก ผลไม้ ข้าว แยกประเภท จำนวนที่ต้องการ พร้อมราคา ล่วงหน้า(3 เดือน) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านขั้นตอนการรวมกลุ่มและได้รับมาตรฐานการผลิตและมีคนกลาง(เกษตรกรรวมตัวในนามวิสาหกิจ/บริษัท/สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ)ที่จะทำสัญญากับรพ.ได้สามารถตัดสินใจสั่งจอง order นำไปวางแผนการผลิตของกลุ่มให้ สามารถส่งวัตถุดิบกับลูกค้าตามศักยภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลความต้องการไปประกอบการวางแผนการส่งเสริมการผลิต ลูกค้าก็สามารถเพิ่มช่องทางสื่อสารไปยังกลุ่มเกษตรกร เพิ่มโอกาสในการผลิตและจัดส่งวัตถุดิบให้ครอบคลุมปริมาณความต้องการ และสามารถบริหารปริมาณความต้องการร่วมกับเครือข่ายในแต่ละพื้นที่

กรณีการสั่งจองจะมีเงื่อนไขกำกับ กรณีที่ไม่สามารถส่งผลผลิตได้ตามคำสั่งจอง จะมีมาตรการควบคุม

3.การวางแผนการผลิต ประกอบด้วยระบบย่อย

3.1 วางแผนการผลิต กลุ่มสามารถนำ order ดังกล่าวไปวางแผนการผลิตของกลุ่มดำเนินการผ่าน Platform มีแผนการผลิตแยกประเภทผลผลิต ตามจำนวนสมาชิก ปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิต พร้อมกันนั้นทีมกลางจะนำข้อมูลการผลิตไปต่อรองกับร้านค้าเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต บรรจุภัณฑ์ลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร สร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการ

3.2 การแก้ปัญหาการผลิต มีระบบสื่อสารทั้งภาพ คลิป ข้อความสนทนา กลุ่มเกษตรกรสามารถสะท้อนปัญหา การผลิตที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาให้ข้อเสนอแนะ ร่วมแก้ปัญหา เก็บบันทึกเป็นความรู้ส่งต่อให้กับสมาชิกและเพื่อนเกษตรกร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกระบวนการผลิต การลดต้นทุนการผลิต การแก้ปัญหาการผลิต การยกระดับราคาผลผลิต

4.การรับส่งผลผลิต ปลายทางของกระบวนการ ประกอบด้วย

4.1 การส่งผลผลิต ณ โรงคัดแยก platform จะอำนวยความสะดวกในการบันทึกผลผลิตของสมาชิกในกลุ่มที่มาจัดส่ง ณ โรงคัดแยก พร้อมระบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ณ โรงคัดแยก

4.2 จัดส่งผลผลิตไปสู่โรงครัว บันทึกปริมาณผลผลิต ราคาผลผลิตต่อครั้งที่จัดส่ง ออกรายงานรายครั้ง รายเดือน รายปี เพื่อให้เห็นปริมาณสินค้าที่สามารถดำเนินการได้ กลุ่มธุรกิจนี้จะมีค่าบริการ โดยจะมีระบบการทำงานร่วมกัน 2 แบบคือ ทีมมูลนิธิฯพร้อมลงทุนร่วม ระดมทุนร่วม และคิดจากการเป็นแฟรนด์ไชส์ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม/เกษตรกรในแต่ละจังหวัด ในราคาที่สามารถเอื้อกันได้เพื่อให้ระบบสามารถอยู่ได้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6892
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง