ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ

by Little Bear @6 มี.ค. 62 23:58 ( IP : 171...141 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 960x540 pixel , 68,507 bytes.

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดสงขลา นัดเครือข่ายที่ทำงานด้านข้อมูลมาหารือแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน เอื้อประโยชน์ในการทำงานกับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู และคนยากลำบากในฐานประชากรข้างต้น

ปัจจุบันในพื้นที่สงขลา มีองค์กรที่เกี่ยวข้องในงานข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย

๑.ด้านบริการสุขภาพ สสจ. มี HDC อันเป็นระบบนำเสนอข้อมูลระดับกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัด ต่างกันตรงที่จังหวัดจะมีระดับบุคคลตามพื้นที่รับผิดชอบ มีแอพฯกำลังพัฒนาระบบข้อมูลส่งต่อและการเยี่ยมบ้าน ปี ๖๒ กำลังจะนำร่อง(จัดช่องทางกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลขั้นต่ำคือตามรายละเอียดข้อมูล ๔๓ แฟ้ม (สาธารณสุขมีข้อมูลมากกว่า ๑๐๐ แฟ้ม) ปัจจุบันมี ๕ โปรแกรมในระบบบริการ +โปรแกรมที่ต้องคีย์เพื่อรับเงินบริการของสปสช. และกำลังพัฒนาระบบการทำงานลดช่องว่างระหว่างพื้นที่/อำเภอ/จังหวัด

๒.รพ.ประจำจำหวัดบางแห่งมีโปรแกรมข้อมูลเฉพาะของตัวเอง เช่น รพ.สงขลา

๓.โปรแกรม PRM ระบบของรพ.หาดใหญ่ เน้นระบบส่งต่อ การฟื้นฟู เป็นโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ในจังหวัดสงขลา นำมาจากศูนย์สิรินธร มีข้อมูลเฉพาะสำหรับหมอ/นักกายภาพระดับรพ.อำเภอเข้าใช้ แต่ไปไม่ถึงระดับรพ.สต.

๔.พมจ.จะมีระบบข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประชากรเป้าหมาย มีSocial map ของพมจ.แยกกลุ่มกลุ่มประชากรที่มีบัตรสวัสดิการตามภารกิจและความต้องการ เป็นระบบปิด เป็นข้อมูลระดับครัวเรือน

๕.www.ข้อมูลชุhttp://xn--b3c4aw.com/ และแอพฯiMed@home ระบบข้อมูลกลางเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู คนยากลำบาก และศูนย์อาสาสร้างสุขนำไปต่อยอดจัดระบบความต้องการส่งต่อให้กับภาคเอกชนมาดำเนินกิจกรรม csr ในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการช่วยเหลือ

หลังจากดูภาพรวมของแต่ละระบบแล้ว ได้ข้อสรุปที่จะกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
๑)รู้เขารู้เรา ทราบข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการ พัฒนาระบบบริการ รักษา ฟื้นฟู
๒)ส่งต่อให้ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางระบบการช่วยเหลือ/คุณภาพชีวิต จำแนกกลุ่ม/ยุทธศาสตร์ตามสภาพปัญหาและความต้องการ จัดทำ Care plan และการประสานภาคีที่เกี่ยวข้อง (พัฒนาเทคนิคการรับรู้/ส่งต่อการช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) โดยลำดับชั้นการเข้าถึงข้อมูล/จำแนกประเภทข้อมูล/การปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
และ๓)การพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เกิดกับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล

ทั้งนี้หากระดับจังหวัดสามารถผลักดันเชิงนโยบายให้สามารถนำเข้าข้อมูลบุคคลของแต่ละหน่วยงานมาส่งต่อให้กับช่องทางกลางที่จะสร้างขึ้นใหม่เพื่อบูรณาการข้อมูลไปด้วยกัน ก็จะลดความซ้ำซ้อนในภารกิจการบันทึกและทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ระบบนี้สาธารณสุขอาจจะทำได้ เพราะมีระดับปฎิบัติทำงานในพื้นที่ แต่หน่วยงานอื่นๆอาจจะทำไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนาระบบการทำงานระดับพื้นที่รองรับคู่ขนานไปด้วยกัน

ในเบื้องต้นจะใช้ระบบข้อมูลกลางและ iMed@home เพิ่มเติมระบบ PRM การส่งต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยเข้าในระบบ ซึ่งมีงานกายอุปกรณ์ การทำ care plan ระบบเยี่ยมบ้านรายบุคคลและกลุ่ม ที่ได้พัฒนาไว้แล้ว และจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศกลางภายใต้งบกองทุนฟื้นฟูฯ รับผิดชอบมาพัฒนาระบบต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 6630
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง