หัวข้อมาใหม่
ตลาดรถเขียวร่วมงานมหกรรมอาชีพสงขลา 2021
ตลาดรถเขียวร่วมงานมหกรรมอาชีพสงขลา 2021
ทุเรียนหนามเขียว
ทุเรียนหนามเขียน โดยการจัดการสวนทั้งระบบตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังตัด ซึ่งทางกลุ่มได้พัฒนาคุณภาพทุเรียน โดยมีเครือข่ายเกษตรกรปลูก 12 กลุ่ม สมาชิก 300 คน โดยได้นำงานวิจัยนำในการพัฒนากลุ่ม ขณะนี้เครือข่ายภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพทุเรียน สามารเพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ
"Platform GreenSmile"
"Platform GreenSmile"
เข้าสู่โลกดิจิตอลเต็มตัว อาศัยโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่และต้นทุนเครือข่าย ความรู้จากประสบการณ์ตรง ดำเนินการในนามมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาแอพฯใหม่อีกตัว ชื่อ iGreenSmile อยู่ในPlatform GreenSmile ที่จะยกระดับองค์กรไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม
กว่าสิบปีที่ส่งเสริมแนวคิดเกษตรสุขภาพ ทำให้เห็นช่องว่างการผลิตในภูมิภาคที่ผลผลิตทางการเกษตรมีการปนเปื้อนสารพิษ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เป็นลูกจ้าง รวมกลุ่มยาก ไม่สามารถสนองตอบเชิงพาณิชย์ สวนยาง สวนปาล์ม นากุ้ง ทำให้ละเลยมิติการผลิตในด้านอาหารอื่นๆ
หลายปีมานี้จึงเริ่มสะสมประสบการณ์ ด้านหนึ่งส่งเสริมการทำสวนผักคนเมือง เพื่อให้เข้าใจตลาด เข้าใจเกษตรกร และความรู้การผลิต พร้อมกับประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแยกส่วน กระจัดกระจาย ไม่ต่อเนื่องและครบวงจร และพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลางขึ้นมาทีละน้อย
มาปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวตกรรมแห่งชาติ(สนช.) เข้าร่วมโครงการ Deepsouth Innovation Business Coaching Program จึงได้โอกาสพัฒนา Platform เต็มรูปแบบ
แนวคิดที่ใช้ในโครงการที่จะขอรับทุน ประกอบด้วยแนวคิดหลักๆ
1.การจัดการฐานข้อมูลกลาง ประกอบด้วย 1) www.communeinfo.com ให้มีระบบฐานข้อมูลกลางของเกษตรกรรายบุคคลและกลุ่มของพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และภาค ให้ภาคส่วนรัฐ ท้องถิ่น เอกชน วิชาการ เครือข่ายเกษตรกรเข้ามาใช้ในการทำงานส่งเสริมการผลิตและการตลาดเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกัน โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดที่จะมีการจัดตั้งร่วมกันในการบริหารจัดการ และเข้าใช้งานplatform ผ่านระบบสมาชิกและอนุมัติสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลกลางตามอำนาจหน้าที่ของ user 2)Application Green Smile ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ สวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ ปศุสัตว์ เน้นมาตรฐาน PGS และเป็นส่วนหนึ่งของการรับรองมาตรฐาน SGS-PGS บันทึกข้อมูลพื้นฐานของกลุ่ม ภาพการผลิต กิจกรรมของกลุ่ม พิกัด พร้อมQrcode เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสอบย้อนผลผลิตถึงแปลง รองรับกลุ่มเกษตรอินทรีย์หรือรายย่อยผ่านระบบตลาดเคลื่อนที่ ส่งตรง ตลาดกรีน
ทั้งสองระบบย่อยนี้จะเป็นบริการทางสังคม ไม่เก็บค่าบริการ แต่ผ่านระบบสมาชิกเพื่อคัดกรองผู้ใช้งาน และมีหน่วยงานสนับสนุนได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562
ระบบข้อมูลกลางนี้จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร และมีระบบ admin ของกลุ่มในการทำงานร่วมกับ platform ระบบข้อมูลกลางจะเป็นพื้นฐานทำให้กลุ่มเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มวางแผนการผลิต การขอมาตรฐานการผลิต(GAP, PGS ฯลฯ) การตลาด การขอสินเชื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปสู่การจัดทำแผนงานหรือนโยบายระดับจังหวัดในการสนับสนุน
2.การจัดการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยและการซื้อขายวัตถุดิบในตลาดล่วงหน้า จะมีระบบย่อยของ Application iGreenSmile ที่จะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต่อยอดการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นแนวทางที่จะขอการสนับสนุนจาก สนช.ประกอบด้วย
การสั่งจองสินค้าล่วงหน้า โดยให้ลูกค้า(โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ)ส่งข้อมูลความต้องการวัตถุดิบ ผัก ผลไม้ ข้าว แยกประเภท จำนวนที่ต้องการ พร้อมราคา ล่วงหน้า(3 เดือน) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านขั้นตอนการรวมกลุ่มและได้รับมาตรฐานการผลิตและมีคนกลาง(เกษตรกรรวมตัวในนามวิสาหกิจ/บริษัท/สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ)ที่จะทำสัญญากับรพ.ได้สามารถตัดสินใจสั่งจอง order นำไปวางแผนการผลิตของกลุ่มให้ สามารถส่งวัตถุดิบกับลูกค้าตามศักยภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลความต้องการไปประกอบการวางแผนการส่งเสริมการผลิต ลูกค้าก็สามารถเพิ่มช่องทางสื่อสารไปยังกลุ่มเกษตรกร เพิ่มโอกาสในการผลิตและจัดส่งวัตถุดิบให้ครอบคลุมปริมาณความต้องการ และสามารถบริหารปริมาณความต้องการร่วมกับเครือข่ายในแต่ละพื้นที่
กรณีการสั่งจองจะมีเงื่อนไขกำกับ กรณีที่ไม่สามารถส่งผลผลิตได้ตามคำสั่งจอง จะมีมาตรการควบคุม
3.การวางแผนการผลิต ประกอบด้วยระบบย่อย
3.1 วางแผนการผลิต กลุ่มสามารถนำ order ดังกล่าวไปวางแผนการผลิตของกลุ่มดำเนินการผ่าน Platform มีแผนการผลิตแยกประเภทผลผลิต ตามจำนวนสมาชิก ปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิต พร้อมกันนั้นทีมกลางจะนำข้อมูลการผลิตไปต่อรองกับร้านค้าเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต บรรจุภัณฑ์ลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร สร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการ
3.2 การแก้ปัญหาการผลิต มีระบบสื่อสารทั้งภาพ คลิป ข้อความสนทนา กลุ่มเกษตรกรสามารถสะท้อนปัญหา การผลิตที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาให้ข้อเสนอแนะ ร่วมแก้ปัญหา เก็บบันทึกเป็นความรู้ส่งต่อให้กับสมาชิกและเพื่อนเกษตรกร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกระบวนการผลิต การลดต้นทุนการผลิต การแก้ปัญหาการผลิต การยกระดับราคาผลผลิต
4.การรับส่งผลผลิต ปลายทางของกระบวนการ ประกอบด้วย
4.1 การส่งผลผลิต ณ โรงคัดแยก platform จะอำนวยความสะดวกในการบันทึกผลผลิตของสมาชิกในกลุ่มที่มาจัดส่ง ณ โรงคัดแยก พร้อมระบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ณ โรงคัดแยก
4.2 จัดส่งผลผลิตไปสู่โรงครัว บันทึกปริมาณผลผลิต ราคาผลผลิตต่อครั้งที่จัดส่ง ออกรายงานรายครั้ง รายเดือน รายปี เพื่อให้เห็นปริมาณสินค้าที่สามารถดำเนินการได้ กลุ่มธุรกิจนี้จะมีค่าบริการ โดยจะมีระบบการทำงานร่วมกัน 2 แบบคือ ทีมมูลนิธิฯพร้อมลงทุนร่วม ระดมทุนร่วม และคิดจากการเป็นแฟรนด์ไชส์ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม/เกษตรกรในแต่ละจังหวัด ในราคาที่สามารถเอื้อกันได้เพื่อให้ระบบสามารถอยู่ได้
เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ร่วมเรียนรู้ Platform Green smile
วันนี้ ( 11 มีนาคม 2564) ลุงเผินให้โอกาสได้ร่วมพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมาจากหลายพื้นที่ เพื่อร่วมกันขยายโอกาสสร้างความ ปลอดภัยและมั่นคงทางอาหาร
ณ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสงขลา อ.จะนะ
เครือข่ายธนาคารต้นไม้บือมัง รามัน ร่วมเรียนรู้และร่วมใช้ Platform Green Smile
วันที่ 10 มีนาคม 2564 ธนาคารธกส.ร่วมกับเครือข่ายเกษตรสุขภาพสงขลาและมูลนิธิชุมชนสงขลาและร่วมขยายผล Platform Greensmile ไปยังกลุ่มธนาคารต้นไม้ ต.บือมัง อ. รามัน จ.ยะลา
ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มเป็นอย่างดี
งานพัฒนา Platform - Greensmile
ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ประกอบด้วย ทีมงานเครือข่ายเกษตรสุขภาพสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา และทีมงาน ธกส.ภาคใต้ตอนล่าง
open platform : Green smile
open platform : Green smile เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการหนุนเสริมการทำงานของประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต 12 ที่ดำเนินการร่วมกับธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด โดยโปรแกรมเมอร์ภาณุมาศ นนทพันธ์ พัฒนาในส่วนแอพพลิเคชั่นและระบบข้อมูลกลางใน www.communeinfo.com มีเป้าหมายจะหนุนเสริมเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค และหน่วยงานสนับสนุนสามารถมาทำงานร่วมกันภายใต้ platform เดียวกัน
สวัสดีเช้าวันเสาร์
ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน กับ Open Platform Green Smile
สานพลังเครือข่าย เรียนรู้การใช้ Application Green Smile
23 ธันวาคม 2563
เครือข่ายเกษตรสุขภาพสงขลา ร่วมกับธนาคาร ธกส. ลงพื้นที่ กลุ่มมังกรทอง จังหวัดพัทลุง เพื่อขยายเครือข่าย การใช้ Application Green Smile ภายใต้ชื่อกลุ่มเกษตรธรรมชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ที่มีความเข้มแข็ง มีจุดเด่นเรื่องการทำอาหารกองเดียว ที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นเองใช้เลี้ยงวัว หมู เป็ด ไก่ ได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพสูง
นอกจากนั้นยังมีสินค้าเกษตร อินทรีย์อื่นๆ เช่น ข้าว ผัก และผลไม้อีกหลายชนิด
สมาชิกในกลุ่มหลายคนมีความกังวลเรื่องการตลาด ว่าผลิตแล้วจะไม่มีที่จะจำหน่าย
ทางกลุ่มจึงมีความสนใจเรื่องการทำระบบการค้าออนไลน์ ให้กับสมาชิกในกลุ่ม Application Green Smile จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทางกลุ่ม ต้องใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการผลิตและทำการตลาดร่วมกัน
ณัฐกฤตา อารมณฤทธิ์ รายงาน
ประชุมเครือข่ายภายใต้โครงการ นำนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรภายใต้ Platform GreenSmile
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ร่วมประชุม เครือข่าย ภายใต้ โครงการ นำนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อ การเกษตร ภายใต้ Platform GreenSmile ซึ่งนำโดยธนาคาร ธกส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนล่าง โดยคุณกำพล หวันสมาน และ มูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งมี โปรแกรมเมอร์ มือทอง คุณภานุมาศ นนทพันธ์ ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร อาทิเช่น
-เครือข่ายเกษตรยั่งยืน จังหวัดสงขลา นำโดยคุณกำราบ พานทอง
-เครือข่ายสวนยางยั่งยืนอำเภอรัตภูมิ (สวนยางพรีเมี่ยม) นำโดยผู้ใหญ่ธีรวิทย์
-เครือข่ายเกษตรสุขภาพสงขลา นำโดย คุณวัลลภ ธรรมรักษา
การประชุมในครั้งนี้ ได้ให้เกษตรกร ทดลองใช้ Application Green Smile ในการจัดการระบบข้อมูลทางการเกษตร ในส่วนของสวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ และเกษตรอินทรีย์
ซึ่งการทดลอง ใช้กับเกษตรกรจริงๆ สามารถทำให้ ข้อมูลมีความสอดคล้อง กับความต้องการในการนำไปใช้ประโยชน์จริง และพัฒนาให้ Application Green Smile สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ได้สูงสุด ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สามารถ ช่วยเหลือเกษตรกร ได้อีกทางหนึ่ง
ทางทีมกลางมีแผนที่จะลง เก็บข้อมูล ย่อย ในสัปดาห์หน้า อีก 6 กลุ่มย่อย คาดว่า จะสามารถรวบรวม แปลงของเกษตรกร กว่า 150 แปลง
ณัฐกฤตา อารมณฤทธิ์ รายงาน