จังหวัดยะลา
ทุเรียนหนามเขียว
ทุเรียนหนามเขียน โดยการจัดการสวนทั้งระบบตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังตัด ซึ่งทางกลุ่มได้พัฒนาคุณภาพทุเรียน โดยมีเครือข่ายเกษตรกรปลูก 12 กลุ่ม สมาชิก 300 คน โดยได้นำงานวิจัยนำในการพัฒนากลุ่ม ขณะนี้เครือข่ายภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพทุเรียน สามารเพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ
ประชุมเพื่อขับเคลื่อนกลไก สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดส่วนภาคใต้ โดยคุณวินิจ ชุมหนูรักษ์ จากสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และนายสุวิทย์ หมาดอะดำ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฟาฎอนี ได้เข้าร่วมเวทีพบปะพูดคุย ร่วมกับคณะทำงานกำไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา โดยใช้สำนักงานของสมาคมจันทร์เสี้ยวสาธารณะสุข ยะลา เป็นสถานที่พบปะ ในการนี้ ทีมกลไกจังหวัดโดย คุณรอซีดี เลิศอริยพงษ์กุล ได้ทบทวนข้อมูลทางเดิน ปัญหาอุปสรรคการทำงานในช่วงที่ผ่านมา และพูดคุยแนวทางการขับเคลื่อนงานต่อ โดยมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยให้ภาคประชาสังคมเป็นหัวขบวนชวนคิด ชวนทำงาน งานสมัชชาสุขภาพของจังหวัดยะลาต่อไป และได้มีการพูดคุยในการเชื่อมต่อเครือข่ายเพิ่มเติม คือ สมาคมจันทร์เสี้ยวฯ และสภาเกษตรกร จังหวัดยะลา ที่จะเข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนประเด็นจังหวัดร่วมกันต่อไป และ นายสุวิทย์ หมาดอะดำ ในฐานะทีมวิชาการภาคที่ดูแลหลักสูตร นักสานพลังเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (นนส.) ส่วนภาคใต้ ได้ชี้แจงแนวทางและกระบวนการสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรโดยผ่านหลักสูตรดังกล่าวให้กับทีมกลไกจังหวัดได้รับทราบ โดยจะมีการนัดประชุมคณะทำงานของจังหวัดอีกครั้งในวันที่ 6 พ.ย. 57 นี้
บทบาทองค์กรในการดูแลคนพิการ
เวทีพัฒนาเครือข่ายคนพิการอำเภอนาหม่อม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 จัดที่ อบต.นาหม่อม ได้มีการนำเสนอบทบาทภารกิจและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริม ดูแลแะพัฒนาคนพิการ โดยมีตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมานำเสนอ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- เน้นสวัสดิการทางการแพทย์ 4 ด้าน คือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู
- ดูแลคนพิการให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ สวัสดิการทางการแพทย์ (บัตร-สิทธิการรักษา บัตรทอง ท.74)
- นาหม่อมมี 3 รพ.สต.
- มี อสม. ในการดูแลสุขภาพ โดย อสม. 1 คน ดูแลกี่หลังคาเรือน
- มีฐานข้อมูลคนพิการบน JHSIS ที่ต้องดูแลให้มีการปรับปรุงเป็นปัจจุบันตลอดเวลา (การ discharge)
- ออกบัตรคนพิการ(ประสานกับ พมจ.) ตามการวินิจฉัยของแพทย์
- ฟื้นฟูสภาพคนพิการ โดยประสานกับ รพ.สต. และ โรงพยาบาล โดยดูแลทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
- ส่งเสริมสุขภาพคนพิการ เยี่ยมบ้าน จัดกิจกรรม
- ป้องกันโรคคนพิการ โรคระบาด ดูแลสิ่งแวดล้อม
- รักษาพยาบาล ให้สิทธิ ท.74
- ตรวจสอบว่าได้รับสิทธิจาก อบต. หรือไม่? ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลกับ อบต.
สภาคนพิการ
- ส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพ
- จัดตั้งกองทุนกลางสำหรับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สงขลา
- จดทะเบียนคนพิการ
กศน. อำเภอ
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย
- พัฒนาทักษะ จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้
- ยังมีกิจกรรมกับคนพิการน้อยมาก
- นาหม่อม ยังไม่มีครู กศน.สำหรับสอนคนพิการ (มีตำแหน่งแต่ยังไม่มีบุคลากร)
- มี กศน. ตำบล
- ตามนโยบายจะมีครู กศน.พื้นที่ สอนคนพิการโดยเฉพาะ ลงไปในพื้นที่
อบต.
- พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ
- สวัสดิภาพทางสังคม
- สนับสนุนงบประมาณ
- (กำลัง)ร่วมกับ สปสช. จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูคนพิการ (หรือผู้มีแนวโน้มจะพิการ?)
อสม.
- ดูแลคนพิการ
ประชุมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภาคีภาคใต้
12 มิถุนายน 2555 - ภาคีตระกูล ส. (สสส. สช. สปสช. สกว. พอช. สพม.) ภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาควิชาการ ได้มาร่วมประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของภาคีในภาคใต้ไปสู่การปฎิรูปประเทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยมีแนวคิดเปิดกรอบการทำงานไร้พรมแดน/ไร้องค์กร แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง มีการบูรณาการข้อมูล mapping งานในหลายมิติ เน้นงานคุณภาพในพื้นที่ กรทบทวน/ประเมินฐานงานในพื้นที่ มีกลุ่มร่วมคิดร่วมคุย ตามธรรมชาติ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกำหนดเป้าหมายร่วม เติมเต็มในส่วนที่ขาด แล้วแยกกันดำเนินการหรือร่วมกันตามความสนใจ
หลังจากคุณชิต ได้กล่าวต้อนรับในฐานะของประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา และนายแพทย์ธีรวัฒน์ กร... ได้กล่าวถึงที่มาของการสร้างความร่วมมือ แต่ละภาคีความร่วมมือได้นำเสนอรูปธรรมแนวทาความร่วมมือใน 3 ประเด็นคือ
- การพัฒนากลไกเชิงบูรณาการระดับเขต (7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง)
- การพัฒนากลไกเชิงบูรณากรระดับจังหวัด
- ประเด็นการทำงานร่วมระดับเขตและจังหวัด