Universal Design: ทำได้ แต่ไป (ไม่) ถึง?
การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ดูจะเป็นแนวคิดที่ได้รับการพูดถึงกันอย่างมากและหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งในภาคส่วนของรัฐ แวดวงสถาปัตยกรรมและการออกแบบ องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุและคนพิการ และภาคบริการของไทย
แนวคิดดังกล่าวนี้ดูจะมีหลักตั้งอยู่บนฐานคิดเกี่ยวกับการสร้างลักษณะพื้นที่ทางกายภาพและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการให้ทุกกลุ่มคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ต้องดัดแปลงเฉพาะหรือเป็นพิเศษสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
หรือพูดอย่างง่ายๆ ก็คือการออกแบบพื้นที่และข้าวของเครื่องใช้ที่ทำให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ กลุ่มคนชรา กลุ่มคนพิการประเภทต่างๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลนี้ดูจะเชื่อมโยงกับแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่มอย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน (Inclusive Society)
ในสังคมไทยแนวคิด การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ได้รับการกล่าวถึงมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2520 ที่เริ่มมีการกล่าวถึงแนวทางการสร้างความตระหนักแก่สังคมเกี่ยวกับสิทธิและความเสมอภาคของคนพิการโดยสหประชาชาติและองค์การเกี่ยวกับคนพิการระดับนานาชาติ ซึ่งต่อมาในช่วงทศวรรษ 2530 การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ดูจะได้รับการเน้นย้ำอย่างจริงจังมากจากกลุ่มคนพิการและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นความพิการในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์ด้านสิทธิและความเสมอภาคของคนพิการ อันนำไปสู่การออกพระราชบัญญัติพื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2537 ที่นอกจากจะมีเนื้อหากล่าวถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของคนพิการในการใช้ชีวิตทางสังคมและการประกอบอาชีพแล้ว ยังได้ระบุถึงการที่ต้องมีการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะอาคาร สถานที่ พื้นที่และบริการสาธารณะต่างๆ ที่ต้องเอื้อแก่การใช้ชีวิตของคนพิการ
หลักการที่วางไว้ในพระราชบัญญัติพื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ดูจะได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ที่มีการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมหลายฉบับ (อาทิ การประกาศกฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในปี พ.ศ. 2542 ที่กำหนดลักษณะอาคารสถานที่ ยานพาหนะและบริการสาธารณะที่ต้องอำนวยความสะดวกกับคนพิการ)ที่กล่าวถึงการสร้างพื้นที่สาธารณะและระบบขนส่งมวลชนที่ต้องเอื้อแก่การใช้ชีวิตของคนพิการที่ต่อมาได้ผูกโยงและขยายไปสู่กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และนำมาสู่การใช้แนวคิด ?การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล? อย่างจริงจังในพื้นที่สาธารณะของสังคมไทย
ในแง่นี้ หากใครแวะเวียนไปตามสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะต่างๆ หรือแม้แต่การเดินตามทางเท้าบนถนนในช่วงเวลาประมาณ 6 ? 7 ปีที่ผ่านมาก็จะสังเกตเห็นได้ถึงการปรับเปลี่ยนสภาพทางกายภาพของพื้นที่เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงทางลาดและวัสดุปูทางเท้าของถนนหลายสายในเขตกรุงเทพ และเมืองใหญ่บางเมือง การสร้างสัญญาณไฟจราจรสำหรับคนข้ามถนน และการก่อสร้างต่อเติมทางลาดและระบบลิฟต์ที่มีเสียงในอาคารของสถานที่ราชการส่วนใหญ่ เป็นต้น
แม้จะดูเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ภาครัฐและสังคมไทยมีความตระหนักที่จะ ?ปฏิบัติ? ตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ตามกฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบอาคารให้เอื้อกับคนทางมวลอันอาจสะท้อนภาพในเชิงปฏิบัติให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างสภาพทางสังคมที่เหมาะแก่การอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่ม
หากแต่ในทางกลับกันก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีหรือค่อนข้างจะเศร้าใจด้วยซ้ำที่การออกแบบและก่อสร้างเหล่านี้ส่วนใหญ่แทบจะไม่สามารถทำหน้าที่เพื่อคนทั้งมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก เพราะหากเราลองสังเกตดูพื้นที่ที่มีความมุ่งหวังในการ ?เอื้อให้กับคนกับคนทั้งมวล? แล้วจะพบว่าบรรดาพื้นที่และสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เกือบทั้งหมดดูจะมีสภาพที่พร้อมใช้งานตามจุดมุ่งหมายของมันในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้นเท่านั้น นี่ไม่รวมการก่อสร้างจำนวนมากที่ ?สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าสร้าง? ที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วแทบไม่สามารถใช้งานสำหรับคนทั้งมวลได้
ไม่ต้องสังเกตไปไกลแค่ลองดูบรรดาทางเท้าที่มีทางลาดและอิฐปูพื้นที่เหมาะแก่การใช้ชีวิตของคนทั้งมวลแล้วจะพบว่าในเวลาไม่นานหลังสร้างเสร็จไม่เพียงแต่จะมีผู้คนนำสิ่งของต่างๆ ไปวางกีดขวางทางเดิน หากแต่ในบางครั้งยังมีการก่อสร้างที่นอกจากทำการกีดขวางเวลาดำเนินการแล้ว เมื่อเสร็จสิ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจำนวนหนึ่งกีดขวางการเดินใช้ชีวีตของคนทั้งมวลด้วย ในทางเดียวกับสัญญาณไฟข้ามถนนที่ ?อินเทรน? สร้างกันอย่างมากมาย แต่แล้วไม่นานก็ต้องพบกับสภาพชำรุดอย่างไม่มีการซ่อมแซม นี่ยังไม่นับรวมบรรดารถยนต์ที่ไม่จอดให้คนเดินข้ามในห้วงเวลาที่สัญญาณยังไม่ชำรุด หรือแม้แต่ทางลาดขึ้นอาคารที่พอสร้างเสร็จก็มีสิ่งของกีดขวางไม่สะดวกแก่การใช้
การก่อสร้างและปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อความหวังแก่คนทั้งมวลส่วนใหญ่ที่ดำเนินกันอยู่ในสังคมไทยเวลานี้นอกจากจะทำให้เห็นการ ?สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าสร้าง? ดังที่กล่าวมา หรือการมีปัญหาด้านการบริหารจัดการดังที่งานสำรวจและศึกษาจำนวนหนึ่งได้ชี้ให้เห็นแล้ว ในอีกมุมหนึ่งดูจะฉายให้เห็นภาพในระดับของทัศนคติ ความคิด และสำนึกของสังคมหรือคนจำนวนมากในสังคมที่ยังมิได้ปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้ชีวิตร่วมกับ ?กลุ่มคนอื่น? อย่างเท่าเทียม
สำหรับผู้เขียนแล้วทัศนคติ ความคิดและสำนึกของสังคมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ไม่แพ้กฎเกณฑ์ กฎหมาย หรือการบริหารจัดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล เพราะอย่าลืมนะครับว่าในการปฏิบัติหรือการรับเอาแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่งไปใช้มันต้องผ่านตัว ?มนุษย์? แทบทั้งสิ้น และในเมื่อคนที่นำไปใช้หรือเกี่ยวข้องยังมีความคิดหรือสำนึกที่ ?ไม่เปิด? หรือ ?เอื้อ? ต่อการใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนอื่นแล้วก็ยากที่ความมุ่งหวังซึ่งถูกใส่ไว้ในกฎเกณฑ์ โครงการ และแผนงานต่างๆ จะสามารถบรรลุผลได้อย่างเต็มที่ตรงกับเป้าประสงค์ที่วางไว้
มีงานศึกษาจำนวนหนึ่งพยายามเสนอว่าการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือสำคัญอยู่ที่การจัดอบรมหรือทำ Work Shop ให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เกี่ยวกับสามารถบริหารจัดการและดูแลพื้นที่ที่ออกแบบสำหรับคนทั้งมวล
สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าวิธีดำเนินงานดังกล่าว แม้วิธีดำเนินการดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญอยู่บ้าง หากแต่อย่าลืมนะครับว่าการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติหรือสำนึกของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนหรือการอบรมสัมมนาไม่กี่ครั้ง เพราะทัศนคติและสำนึกต่อเรื่องต่างๆ ของมนุษย์ได้ถูกปลูกฝังและบ่มเพาะผ่านปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมาตั้งแต่เด็ก ในแง่นี้การที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของสังคมหรือกลุ่มคนจึงควรที่จะต้องใช้วิธีการที่ค่อยๆ ทำให้เกิดความตระหนัก ระลึกหรือเข้าใจการดำรงอยู่ของคนอื่นในสังคมด้วย นอกจากนี้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลดูจะมิได้มีแต่เพียงผู้ปฏิบัติการหรือบริหารจัดการเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วย หากกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่และชัวิตของ ?คนอื่น? ตัวอย่างเช่น ของคนขับรถที่ไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่ของคนข้ามถนนหรือคนเดินเท้า ก็ยากที่จะบรรลุผลของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลได้
ในส่วนของวิธีการที่จะเซาะปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติและสำนึกของสังคม ผู้เขียนดูจะยังไม่สามารถหาคำตอบได้ในบทความชิ้นนี้ หากแต่คิดว่าควรเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการผ่านหลายส่วนของสังคม ตั้งแต่การสื่อสารมวลชน การศึกษา และภาพเสนอต่างๆ ที่จะทำให้ระลึกว่า ?นอกจากฉันและยังมีเธออยู่อีกหลายคน?
โดย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระ
ที่มา: ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ คอลัมน์มุมมองบ้านสามย่าน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2554
Relate topics
- "Platform GreenSmile""Platform GreenSmile
- เครือข่าย SGS - PGS สงขลา ลงตรวจแปลงรอบที่สาม วันแรกเพื่อสุขภาพของประชาช
- พัฒนาศักยภาพทีมเยี่ยมบ้านเครือข่าย พชอ.หาดใหญ่"พัฒนาศักยภาพทีมเยี่
- เครือข่ายพลเมืองอาสากระบี่ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านพื้นที่อำเภออ่าวลึก เพราะเราจะไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง"เครือข่ายพลเมืองอาส
- ตลาดโรงพยาบาลหาดใหญ่กรีนสมาย เปิดวันศุกร์ ที่ 13 ธ.ค. 62ตลาดโรงพยาบาลหาดใหญ่
- งานกีฬาสานสัมพันธ์สายใยรักคนพิการจังหวัดตรัง ครั้งที่ 2ขอเชิญชวนคนพิการทุกท
- ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตรายบุคคลนัดแกนนำพมจ. สสจ. อบ
- ก้าวข้ามข้อจำกัดในการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง๕-๗ สค.นี้ กขป.เขต๑๑
- ๒ กย. ดีเดย์นัดส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่ครัว รพ.หาดใหญ่วันนี้เครือข่ายเกษตร
- บูรณาการข้อมูลรายบุคคลระดับอำเภอยกระดับอีกก้าวสำหรับ
- การประสานการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญชัดเจนมากขึ้นทุกวัน.
- รูปแบบการดูแลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมจากสภาพปัญหาการทำงาน
- ระบบเยี่ยมบ้านงานข้อมูลควรทำเป็นกร
- ศูนย์สร้างสุขชุมชน อบต.ทับช้างทับช้างเป็นตำบลเล็กๆ
- ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ
- เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่"เครือข่ายท้องถิ่นสง
- iMed@home เครื่องมือเสริมพลังนโยบายสาธารณะยุคดิจิทัล"iMed@home" ยุคดิจิต
- งานวันพลเมืองสงขลา งานวันพลเม
- เปิดตัว Hatyai Go Green ที่ Green Zone@Green Wayหลายปีก่อนมูลนิธิชุม
- เปิดตัวแอพ iMed@Home สำหรับเครือข่ายเยี่ยมบ้านคนพิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยเรื้อรังข่าวดีสำหรับเครือข่า
- เทศบาลตำบลย่านตาขาวกองสาธารณสุขเทศบาลตำ
- คืนความสุขคนพิการกองสาธารณสุขเทศบาลตำ
- บันทึกฐานข้อมูลคนพิการเข้าบันทึกข้อมูลไม่ไ
- สมาชิกใหม่รายงานตัวครับผมยินดีที่ได้ร่วมงานคร
- คืนความสุขให้คนพิการ จัดโดยสำนักงาน พมจ.ตรังนายสายัณห์ อินทรภักด
- พัฒนาศักยภาพกลไกสุขภาวะจังหวัดปัตตานีจัดงาน พัฒนาศักยภาพ
- เวทีเตรียมงานเก็บข้อมูลคนพิการนาโยงใต้ ตรังกิจกรรมวันนี้ที่ นาโ
- โครงการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่บ้านโครงการบริการสุขภาพผ
- ร่วมด้วยช่วยกัน "พัฒนางานคนพิการในเขตเมืองหาดใหญ่"งานร่วมพัฒนาระบบสุขภ
- งานดูแลคนพิการในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ในปี 58ขยับงานดูแลคนพิการใน
- เวที "วัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเพื่อการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย"สสส. ได้ชวนคนทำงานข้
- มติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง คุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดตรัง โดยภาคีเ
- เวทีแลกเปลี่ยนและร่วมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานประเด็นคนพิการ(ตรัง-สงขลา)สมัชชาสุขภาพจังหวัดต
- ใช้ Video Chat ช่วยคนตาบอดได้ทั่วโลกด้วย Be My Eyes applicationWritten by Unlockme
- เวทีรับฟังความคิดเห็น(ร่าง)มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ึ7วันที่ 27 พฤศจิกายน
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ จังหวัดปัตตานีวันที่ 21 พฤษจิกายน
- ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ/บันทึกความร่วมมือวันที่ 20 พฤษจิกายน
- จัดอบรมทักษะผู้นำเยาวชนกับการนำเครื่องมือพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเครือข่ายประชาคมงดเห
- ประชุมเพื่อขับเคลื่อนกลไก สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 10 ตุลาค